Google

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

อุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ


รุ่น ทรัพย์มั่งมี บารมีทั่วทิศ

รับพระประมาณต้นเดือน ตุลาคม 2550

พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ พระเกจิเอกด้านจตุคามฯ


พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ พระเกจิเอกด้านจตุคามฯ
ระเกจิอาจารย์อายุเกิน 100 ปี นับวันจะเหลือน้อยลงทุกที ทางสายใต้ก็มีรูปนี้กำลังโด่งดังมาก ท่านมีนามคุ้นหูเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคลสายใต้

พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ ปัจจุบันมักได้รับอาราธนานิมนต์ไปนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก และกดพิมพ์นำฤกษ์วัตถุมงคลยอดนิยม จตุคามรามเทพ อยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่แถวภาคใต้ เพราะติดปัญหาเรื่องการเดินทาง

ความชราไม่เป็นปัญหากับหลวงพ่อเอื้อม ด้วยความเมตตาที่เปี่ยมล้น อยากให้คณะศรัทธามีวัตถุมงคลมากพุทธคุณไว้บูชา วัดใกล้หรือไกลหากจัดพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกวัตถุมงคลแล้วทำใบฎีกานิมนต์มา ท่านไม่เคยปฏิเสธ

บางครั้งศิษย์ของท่านเองต้องขอร้อง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ
อุปสมบทเมื่ออายุ 65 ปี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2514 เวลา 13.45 น. ณ พัทธสีมา วัดปากเชียร อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระครูถาวรบุญรัต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมานิต มานิโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา กตปุญโญ

ตามประวัติก่อนอุปสมบท ท่านเคยเป็นเสือเก่ามาก่อน และได้เคยปะทะกับท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ต่างคนต่างมีวิชาสายสำนักเขาอ้อเหมือนกัน จนในที่สุดท่านทั้งสองคบหาเป็นสหายกัน

ต่อมาท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้แนะนำให้ท่านไปบวชกับพ่อท่านคล้าย วัดจันดี

แต่พ่อท่านคล้ายท่านชราภาพมากแล้ว จึงแนะนำให้ไปบวชกับพระรูปอื่น ก่อนบวชท่านได้บอกว่าถ้าบวชกับพระรูปไหนจะไปสึกกับพระรูปนั้น ในที่สุดท่านก็ได้อุปสมบทกับพระครูถาวรบุญรัต ในเวลาต่อมาท่านพระครูถาวรบุญรัตได้มรณภาพลง พ่อท่านเอื้อมจึงลาสิกขาไม่ได้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน

การศึกษาพุทธาคม หลังจากอุปสมบทแล้วอยู่จำพรรษาวัดปากเชียรศึกษาข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากนั้นได้จาริกธุดงค์ตามป่าเขา ขึ้นเหนือถึงประจวบคีรีขันธ์ ลงใต้สำนักอาจารย์เขาอ้อ ไปสุดชายแดนมาเลเซีย

ระหว่างธุดงค์ได้สร้างวัดตามสถานที่ต่างๆ รวมได้ 7 วัด ได้แก่ วัดท้ายทะเล อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดไสไท อ.เมือง จ.กระบี่, สำนักสงฆ์สะเดา อ.เมือง จ.ชุมพร, สำนักสงฆ์เขาวงแหวน อ.ห้วยยอด จ.ตรัง, สำนักสงฆ์ควรเขาดิน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี และวัดบางเนียน อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กิตติคุณเป็นที่กล่าวขานเรื่องเมตตา มหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย

วัตถุมงคลเข้มพลังมากประสบการณ์ เช่น เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2533 อายุ 82 ปี ตะกรุดผ้ายันต์ พระผง รูปหล่อบูชา เป็นต้น

พ่อท่านเอื้อมศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ระหว่างธุดงค์ปักกลดตามป่า ถ้ำ และเดินข้ามภูเขาน้อยใหญ่รวม 69 ลูก การปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดของพ่อท่านเอื้อมจึงเชื่อกันว่าพ่อท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูง นอกจากศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว พ่อท่านเอื้อมยังได้ศึกษาค้นคว้าทางไสยเวท และวิทยาคมทั้งศาสตร์อิสลาม พราหมณ์ ขอม และพุทธ มาตั้งแต่อายุ 16 ปีจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้พ่อท่านเอื้อมมีความรู้แตกฉาน ลึกซึ้งและแกร่งกล้าทางด้านไสยศาสตร์ เวทมนตร์ คาถา อาคม ในทุกด้าน

ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เพชรน้ำหนึ่งของภาคใต้ ที่มีตบะบารมีอันสูงยิ่ง วัตถุมงคลที่พ่อท่านเอื้อมอธิษฐานจิตหรือปลุกเสกจะมีอิทธิปาฏิหาริย์และประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ และเมตตามหานิยม ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชาจนนับครั้งไม่ถ้วน ศิษยานุศิษย์ ผู้ศรัทธาและบุคคลทั่วไปจึงเคารพนับถือ ศรัทธา แสวงหาวัตถุมงคลของพ่อท่านเอื้อมไว้บูชา และไปคารวะกราบไหว้พ่อท่านเอื้อมกันมากมายตลอดเวลา

ปัจจุบัน พ่อท่านเอื้อม ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิเอกอุด้านจตุคามรามเทพรูปหนึ่ง

รุ่น อิทธบุญฤทธิ์ รุ่นแรก ท่านเอี้อม ปลุกเสก เดียว


รุ่น อิทธบุญฤทธิ์ รุ่นแรก ท่านเอี้อม ปลุกเสก เดียว วัด บางเนียน นครศรีธรรมราช


ดวงตราจุคามรามเทพ รุ่น "อิทธิบุญฤทธิ์" พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำพิธีเททอง ณ วัดบางเนียน วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 โดยพ่อท่านเอื้อมและเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ มีอาจารย์ประจวบ คงเหลือเป็นประธานพิธีบรวงสรวง ณ ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช พิธีเทวาภิเษก ณ วัดบางเนียน พิธีบรวงสรวงและปลุกเสก ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 17 เมษายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์หารายได้สมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ และพัฒนาบำรุงวัดบางเนียนพิมพ์พระที่นำเสนอเป็นพิมพ์ปรกใบมะขามครับเป็นพิมพ์ขนาดเล็กที่ออกแบบได้สวยงามครับมีทั้งสิ้น 5 เนื้อ คือ เงิน นวโลหะ ทองแดงนอก ทองเหลือง และอัลปาก้า ครับ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช


สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมือง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับภาคเอกชนก่อสร้างศาลขึ้นบนที่ดินราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร เส้นรอบวง 0.95 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐานซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์) หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการแกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ ประกอบพิธีเบิกเนตรหลักเมือง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมยอดชัยหลักเมืองเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมือง ในวันรุ่งขึ้น

นอกจากนี้ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน จะมีการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะปีพุทธศักราช 2528-2530 มีการประกอบพิธีกรรมถึง 12 พิธีกรรม อาทิ พิธีกรรมลอยชะตาเมือง พิธีกรรมสะกดหินหลักเมือง พิธีกรรมปลักยักษ์เทวดาฯ เป็นต้น

จึงนับว่าศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้ ได้บังเกิดขึ้นด้วยความประณีตบรรจงอย่างมีภูมิหลัง และมีเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวไทยใต้ในอดีต และสองถึงความพยายามอนุรักษ์สร้างสรรค์ของชาวไทยใต้ปัจจุบันไว้อีกด้วย

รุ่นปีมหามงคล2550 เงินไหลมา3



เพื่อสมทบทุนสร้างอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา และสร้างอาคารห้องสมุดโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
พิธีมหาพุทธาภิเษกและเทวาภิเษก ณ พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร วันที่ 22 กรกฎาคม 2550

หมายเหตุ : เริ่มรับวัตถุมงคลได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป